TKP HEADLINE

ศูนย์จักสานบ้านสันติสุข

 


      ศูนย์จักสานบ้านสันติสุข เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของตำบลจันเสน  โดยมีคุณสุมนี นาคแย้ม และคุณบุญทัน  ประคองศรี เป็นผู้ก่อตั้งและอนุเคราะห์ที่ดินในการก่อสร้างเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้กับชุมชนในการศึกษาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีการนำผลิตภัณฑ์ไปจัดจำหน่ายและสาธิตการสอนในวันเสาร์-อาทิตย์  ณ วัดจันเสน  โดยวัดจันเสนจะมีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์เป็นจำนวนมากในวันเสาร์-อาทิตย์ อ่านเพิ่มเติม...

จันเสนเมืองโบราณ



       จันเสนเมืองโบราณ บริเวณหมู่ที่ ๒ ในตำบลจันเสน เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ ชาวบ้านเรียกกันว่า โคกจันเสน เพราะเมืองโบราณรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมุมมนจนเกือบกลมแห่งนี้ มีระดับสูงกว่าพื้นที่รอบๆ อันเกิดจากการขุดคูน้ำล้อมรอบ แล้วนำดินที่ขุดนั้นมาถมพื้นที่ในเมืองบางส่วนแทนการสร้างคันดินสูง ที่มักพบได้ทั่วไปตามเมืองโบราณร่วมสมัยเดียวกันเมืองโบราณจันเสนมีขนาดราว ๗๐๐ x ๘๐๐ เมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๓๐๐ ไร่ ตั้งอยู่ที่พิกัดทางภูมิศาสตร์เส้นรุ้งที่ ๑๕ องศา ๑๐ ลิปดา ๕๗ พิลิปดา เหนือ และเส้นแวงที่ ๑๐ องศา ๒๗ ลิปดา ๒๓ พิลิปดา ตะวันออก เป็นเมืองโบราณในวัฒนธรรมทวารวดีที่ตั้งอยู่ในตำแหน่งต่ำสุดของจังหวัดนครสวรรค์จันเสนห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยามาทางทิศตะวันออกประมาณ ๑๖ กิโลเมตร อยู่ในลักษณะภูมิประเทศอันเป็นที่บรรจบกัน อ่านเพิ่มเติม...

ศาลเจ้าพ่อนาคราชจันเสน

 

      

      ศาลเจ้าพ่อนาคราช ตั้งอยู่ที่ ต.จันเสน อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่ชุมชนจันเสนมาร่วมสี่ชั่วอายุคนแล้ว ชาวจันเสนเชื่อกันว่ามี "เจ้าพ่อนาคราช" มีอำนาจดูแลทรัพย์สมบัติใต้พื้นดินทั้งหมดประทับอยู่ จึงได้พากันก่อตั้งศาลเจ้าขึ้นแต่ก็เป็นเพียงเพิงสังกะสีเล็กๆ ไม่ใหญ่นัก และก็ได้พากันกราบไหว้ขอพรจากเจ้าพ่อนาคราช แต่ก็เป็นที่รู้จักกันในเฉพาะชุมชนจันเสนเท่านั้น เนื่องจากในสมัยนั้นพื้นที่ยังเป็นป่า การเดินทางไปมาหาสู่กันค่อนข้างจะลำบาก ผู้สร้างศาลเจ้าพ่อนาคราชเป็นคนแรก คือ "อาก๊ง" ซึ่งเป็นบรรพบุรุษผู้จับจองพื้นที่บริเวณศาลเจ้าพ่อนาคราชเป็นที่ทำมาหากิน ท่านได้เล่าให้ฟังต่อๆ กันมาว่า ได้เห็นพญานาค ๒ ตัวเล่นน้ำอยู่ในบึงโบราณ ซึ่งเป็นบึงเก่าแก่คู่เมืองจันเสนตั้งแต่สมัยทวาราวดี และท่านก็ได้เห็นพญานาค ๒ ตัวนี้หลายครั้งก็เลยสงสัย จึงได้เสี่ยงทายตามวิธีของคนจีนจนได้รู้ว่าเจ้าพ่อนาคราชมาบอกให้สร้างศาลให้ ท่านก็เลยตกลงใจชวนกันก่อตั้งศาลเจ้าขึ้น ณ บริเวณที่พญานาคเล่นน้ำนั้น โดยสร้างเป็นเพิงสังกะสีเล็กๆ ตามกำลังทรัพย์ อ่านเพิ่มเติม...

พิพิธภัณฑ์จันเสน

 


         จันเสนเป็นเมืองโบราณสมัยทวาราวดีตอนต้นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา บริเวณเมืองโบราณนี้ได้มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก หลักฐานทางโบราณคดีดังกล่าวเป็นสิ่งยืนยันถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่ยาวนานของชุมชน สร้างความภาคภูมิใจให้กับคนในท้องถิ่น นำไปสู่ความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนในการช่วยกันเก็บรักษาสิ่งของ และบอกเล่าเรื่องราวต่างๆเหล่านี้ให้คนทั่วไปได้ทราบ ผ่านการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นจันเสน โดยจัดแสดงในชั้นล่างของ “พระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน” การจัดแสดงมีทั้งเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีของชุมชนจันเสน โบราณวัตถุที่ขุดค้นพบจากเมืองโบราณจันเสน พัฒนาการและการขยายตัวของชุมชนจันเสน ตลอดจนภูมิปัญญาของคนในชุมชน และจบด้วยประวัติของ “พระครูนิสัยจริยคุณ” หรือหลวงพ่อโอด อดีตเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในการผลักดันให้เกิดพิพิธภัณฑ์ มีรูปหล่อของท่านไว้ตรงกลางห้องเพื่อให้เป็นที่เคารพสักการะ เพดานของอาคาร เป็นอีกหนึ่งความน่าสนใจของพิพิธภัณฑ์คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เป็นเรื่องราวพุทธประวัติ ข้อมูลทางประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆในพิพิธภัณฑ์ อ่านเพิ่มเติม...

วัดจันเสน

วัดจันเสน เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลจันเสน อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ในบริเวณเมืองโบราณจันเสน ซึ่งเป็นเมืองสมัยทวารวดีมีเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน คือ พระครูนิวิฐธรรมขันธ์ วัดจันเสนตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2446 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2479 มีหลวงพ่อเขียนเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก ตามคำบอกเล่าต่อกันมาว่าท่านเป็นชาวอยุธยาได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ริมบึงโบราณจันเสน เห็นสภาพพื้นที่เหมาะที่จะตั้งเป็นวัดจึงได้ชวนชาวบ้านญาติโยมสร้างเป็นวัด มีการขุดค้นพบโบราณวัตถุจำนวนมาก อาทิ พระพิมพ์ ตุ๊กตา ตะเกียงดินเผา ฐานบัว ธรรมจักร ขวานหินขัด และใบหอกสำริด ซึ่งจัดแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์จันเสน บริเวณพระมหาธาตุเจดีย์ศรีจันเสน อ่านเพิ่มเติม...

การเวียนเทียน ในวันสำคัญทางศาสนา

 


      ประเพณีเวียนเทียนเนื่องในวันสำคัญต่าง ๆ ทางพระพุทธศาสนา

      การเวียนรอบปูชนียวัตถุหรือปูชนียสถานเพื่อเป็นการแสดงความเคารพนั้น ไทยได้รับคตินี้มาจากอินเดียพร้อมกับพระพุทธศาสนา  โดยปรากฏ หลักฐานการแสดงความเคารพโดยการเวียนเทียนในพระไตรปิฎก ซึ่งใช้คำว่าเวียนประทักษิณาวัตร คือเวียนขวา 3 รอบ เป็นเครื่องหมายถึงการแสดงออกซึ่งการเคารพบูชาต่อสิ่งนั้น ๆ อย่างสูงสุด ไทยได้รับคตินิยมนี้มาและปรับประยุกต์ให้เข้ากับพื้นฐานทางวัฒนธรรมของไทยโดยนำมาใช้เป็นการแสดงความบูชาต่อพระรัตนตรัยมาตั้งแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏเป็น "ฐานประทักษิณ" สำหรับการกระทำพิธีเวียนเทียน ในโบราณสถานทางศาสนา มาตั้งแต่สมัยทวารวดี รวมทั้งปรากฏข้อความในพงศาวดารว่ามีการกระทำพิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางศาสนาสืบมาจนถึงปัจจุบัน...โดยพระภิกษุถือดอกไม้ธูปเทียนนำเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา   การเวียนเทียน วัดต่าง ๆ มักกำหนดให้เวียนรอบปูชนียสถานสำคัญของวัด เช่นโบสถ์หรือพระเจดีย์ อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง สร้อยทองฟิชชิ่งปาร์ค

 

             ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงสร้อยทองฟิชชิ่งปาร์ค

      เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัฒน์ ความพอเพียง หมายถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอ สมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี อ่านเพิ่มเติม...

วิสาหกิจชุมชน หมูฝอยหวานอชิรญา

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนหมูฝอยหวานอชิรญา ก่อตั้งโดยนางอชิรญา พุ่มอินทร์ ซึ่งเป็นผู้มีฝีมือ ในการประกอบอาหารและขนมได้อย่างหลากหลาย จึงมีการรวมกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรและจัดตั้งกลุ่มขึ้นในปี พ.ศ.2557 มีการรวมกลุ่มผลิตเพื่อเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกร ในปี 2557 -2558 ลงทะเบียนผู้ผลิตสินค้าของ OTOP ประจำตำบลสร้อยทองปี 2561 - ปัจจุบัน และผลิตภัณฑ์ที่มีความโดดเด่นและเป็นสินค้าหลักของทางกลุ่ม ได้แก่ หมูฝอยหวาน ซึ่งได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ทางราชการ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอตาคลี ได้ส่งเสริมทางด้านการผลักดันให้เป็นแหล่งวิสหากิจชุมชนประจำตำบลสร้อยทอง ส่งเสริมด้านมาตฐานการผลิต อย. จนได้รับให้เป็นสินค้า OTOP ประจำตำบลสร้อยทอง สำนักงานเกษตรอำเภอตาคลีสนับสนุนเงินทุนและงบประมาณ องค์การบริหารส่วนตำบลสร้อยทองสนับสนุนวัสดุและอุปกรณ์ และทาง กศน.ตำบลสร้อยทอง ได้เข้าไปให้ความรู้ด้านการส่งเสริมการขายออนไลน์ ภายใต้โครงการดิจิทัลชุมชน ส่งผลทำให้สินค้า “หมูฝอยหวานอชิรญา” เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการขายออนไลน์  อ่านเพิ่มเติม...

บ้านหนังสือชุมชน

 

       บ้านหนังสือชุมชนตำบลสร้อยทอง เป็นแหล่งการอ่าน การจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้นในชุมชน เป็นสถานที่พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สามารถเข้าใช้บริการได้สะดวก มีความเหมาะสมกับบริบทของพื้นที่และชุมชน โดยมีเจ้าของบ้านหรืออาสาสมัครทำหน้าที่ดูแลให้บริการและจัดกิจกรรมสร้างเสริมการอ่านและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จากการที่รัฐบาลได้ประกาศให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ กำหนดให้ปี 2552 – 2561 เป็นทศวรรษแห่งการอ่านและกำหนดให้ วันที่ 2 เมษายนของทุกปี เป็นวันรักการอ่าน กระทรวงศึกษาธิการ โดยสำนักงาน กศน. ได้ดำเนินงานส่งเสริมนิสัยรักการอ่านให้แก่ประชาชนทุกเพศ ทุกวัย ผ่านแหล่งการเรียนรู้ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” และห้องสมุดประชาชนอำเภอ แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่ จึงได้มีแนวคิดที่จะให้มี แหล่งการเรียนรู้อยู่ใกล้บ้านให้มากที่สุดในรูปแบบของบ้านหนังสือชุมชน แต่กว่าจะมาเป็นบ้านหนังสือชุมชนได้ ในทุกวันนี้ อ่านเพิ่มเติม...

กศน.ตำบลสร้อยทอง

 


       กศน.ตำบลสร้อยทอง ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดโคกกร่าง หมู่ 2 บ้านโคกกร่าง ต.สร้อยทอง อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เป็นอาคารเอกเทศ ขนาด 6x12 เมตร ปัจจุบันมี นางสาวพัชรินทร์ มณีโส เป็นครู กศน.ตำบลสร้อยทอง แต่เดิมอาคาร กศน.ตำบลสร้อยทอง เป็นอาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำตำบลสร้อยทอง ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดโคกกร่าง หมู่ 2 ตำบลสร้อยทอง อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งภายหลังทางศูนย์ได้รับงบประมาณในการสร้างอาคารใหม่เพื่อขยายพื้นที่ในการรองรับเด็กเล็กภายในตำบลที่มีมากขึ้น ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงได้ย้ายไปสร้างอาคารใหม่อยู่ภายในโรงเรียนบ้านโคกกร่าง อาคารหลังเดิมจึงว่างและไม่มีหน่วยงานใดมาใช้ประโยชน์เข้ามาใช้ประโยชน์ ประกอบกับในปี พ.ศ.2554 อ่านเพิ่มเติม...

วัดโคกกร่าง

 


     วัดโคกร่าง เป็นวัดสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 13 ไร่ 2 งาน 47 ตารางวา    โฉนดที่ดินเลขที่ 66287 มีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 2 แปลงเนื้อที่ 41 ไร่ 7 ตารางวาโฉนดที่ดินเลขที่ 37623, 26529  อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 7 เมตรยาว 20 เมตรสร้างเมื่อ พ. ศ. 2527 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 20 เมตรยาว 35 เมตร สร้างเมื่อพ.ศ. 2527 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ทรงไทยประยุกต์ หอสวดมนต์ กว้าง 15 เมตรยาว 18 เมตร สร้างเมื่อพ.ศ. 2524 เป็นอาคารไม้ กุฏิสงฆ์ จำนวน 4 หลังเป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ 3 หลัง  ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน 2 หลังสร้างเมื่อพ. ศ.2538  เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก นอกจากนี้มี ฌาปนสถาน 1 หลัง  หอระฆัง 1 หลัง  โรงครัว 1 หลัง อ่านเพิ่มเติม...

ประเพณีแข่งเรือ 7 ฝีพาย

 


      ประเพณีแข่งเรือ 7 ฝีพาย ในเทศกาลลอยกระทงนั้น เป็นสิ่งที่ชาวไทยพุทธปฏิบัติสืบเนื่องกันมาเป็นเวลาช้านานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยการแข่งเรือ เนื่องในวันลอยกระทงถือเป็นประเพณี ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า "พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป" และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่า อ่านเพิ่มเติม...

ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ

 



             วัดไตรคีรีวราราม  ตำบลพุนกยูง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ กำหนดจัดงาน ช่วงเดือนตุลาคม(วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) วัดไตรคีรีวราราม ตำบลพุนกยูง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอตากฟ้ามีงานประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และเป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล การทำบุญตักบาตร ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เนื่องในโอกาส ที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก คำว่า เทโว ย่อมาจากคำว่า เทโวโรหนะ ซึ่งแปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก ความเดิมมีว่าในพรรษาที่ 7 นับแต่วันตรัสรู้พระพุทธเจ้าเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศน์โปรดพระพุทธมารดา จนบรรลุโสดาปัตติผล ครั้นออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

 

            ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  บ้านพุเม่น ต.พุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลข่าวสารความรู้ของชุมชนที่จะนำไปสู่การส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้สำหรับประชาชน ในชุมชน เป็นแหล่งเสริมสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอด การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การสืบทอดภูมิปัญญา วัฒนธรรม ค่านิยม และเอกลักษณ์ของชุมชน อีกทั้งเป็นแหล่งบริการชุมชนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ ของชุมชน โดยเน้นการกระบวนการเรียนรู้เพื่อวิถีชีวิตของคนในชุมชน เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ก่อให้เกิดชุมชนแห่ง เรียนรู้ และมุ่งการพัฒนาแบบพึ่งตนเอง อ่านเพิ่มเติม...

ป่าชุมชนบ้านไตรคีรี

 


      ป่าชุมชนบ้านไตรคีรี ต.พุนกยูง อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิง "อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ" ของชุมชนบ้าน  ไตรคีรีพื้นที่ป่าบ้านไตรคีรี หมุ่ที่ 6 ตำบลพุนกยูง ได้รับการควบคุมดูแลรักษาฟื้นฟูสภาพจากการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้สภาพพื้นที่ป่าสมบูรณ์ขึ้น อีกทั้งบริเวณภายในป่ายังมี ากฟอสซิลที่เป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติให้กับชุมชน อ่านเพิ่มเติม...

ทุ่งทานตะวันบานที่บ้านพุนกยูง

 


      ชมความสวยงามของทุ่งทานตะวัน อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ที่กำลังออกดอกบานสะพรั่งสีเหลืองต้อนรับลมหนาวบนเนื้อที่กว้างกว่าหมื่นไร่ รอให้นักท่องเที่ยวได้ไปเก็บเกี่ยวความประทับใจ เดือนธันวาคมจนถึงปลายเดือนมกราคม รับรองเลยว่าถ้านักท่องเที่ยวคนไหนลองได้ไปเห็นด้วยตาตัวเอง เป็นต้องอึ้งกับภาพความสวยงามของเหล่าดอกทานตะวัน ที่พากันออกดอกบานสะพรั่ง เหมือนกับทุ่งดอกไม้ อ่านเพิ่มเติม...

ประเพณีบุญสลากภัต

 


      วัดตากฟ้า พระอารามหลวง อำเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ อำเภอตากฟ้ามีงานประเพณีบุญสลากภัต ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป และเป็นประเพณีที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คำว่า "สลากภัต” หมายถึงอาหารที่ถวายพระตามสลาก นิยมทำในช่วง เดือน ๖ จนถึงเดือน ๘ ซึ่งเป็นฤดูที่มีผลไม้อุดมสมบูรณ์ อ่านเพิ่มเติม...

ผ้าฝ้ายตากฟ้า


ผลแห่งความสำเร็จจากงานวิจัย ของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ในปี 2544 ส่งผลให้ฝ้ายพันธุ์ใหม่ ที่มีเส้นใยยาวในชื่อว่า “ตากฟ้า 2” ได้ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นครั้งแรกในประเทศไทยแต่กลับไม่ได้รับการต้อนรับที่ดี เมื่อราคารับซื้อฝ้ายในปีนั้นต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้มีแนวความคิดที่สอดคล้องกันจากบุคคลหลายฝ่ายที่จะนำฝ้ายพันธุ์ใหม่นี้ มาปั่นเป็นเส้นด้ายด้วยมือและนำไปทอเป็นผืนผ้า เพื่อยกระดับมูลค่าของผลผลิต โดยได้รับความช่วยเหลือและร่วมมือร่วมใจกันจากสมาคมอุตสาหกรรมฝ้ายไทย พัฒนาชุมชนอำเภอตากฟ้า อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้การเพาะเห็ดและแปรรูปเห็ด

 



เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ที่สามารถนำมาบริโภคได้ ซึ่งอุดมไปด้วยโปรตีนวิตามินและ เกลือแร่ นอกจากนี้เห็ดบางชนิดยังเป็นยาสมุนไพร อายุวัฒนะ ในการป้องกันรักษาโรคหลายๆ ชนิด เช่น เห็ดหลินจือ เห็ดหัวลิง เป็นต้น ในสภาพธรรมชาติ เห็ดมักจะขึ้นตามป่าที่มีความอุดม สมบูรณ์สูงช่วงฤดูฝน แต่ในปัจจุบันได้มีการศึกษาทดลองและพัฒนา การเพาะเลี้ยงเห็ดให้มี ผลผลิตตลอดปี เช่น เห็ดสกุลนางรม ได้แก่ เห็ดนางฟ้า เห็ดขอนขาว-ขอนดำ เห็ดบด นางรม เป๋าฮื้อ ฮังการี หูหนู ตีนแรด เห็ดโคนญี่ปุ่น เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเห็ด เกษตรกรสามารถเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติได้ โดยใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงเพียงเล็กน้อยและใช้วัสดุเพาะที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น ฟางข้าว เศษมันส าปะหลัง เปลือกถั่วเหลือง ถั่วเขียว ซังข้าวโพด ใบแฝก ขี้เลื่อย เป็นต้น เป็นการสร้างงาน และรายได้ ให้แก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงได้เป็นอย่างดี อ่านเพิ่มเติม...

ศูนย์เรียนรู้ชุมชนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 


      บ้านพุนิมิตเป็นชุมชนที่ได้เรียนรู้และนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้เป็นหลักคิด เป็นหลักปฏิบัติในการขับเคลื่อนการพัฒนาผ่านกระบวนการระเบิดจากข้างในเพื่อร่วมกันแก้ไขแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นชุมชน โดยการดำเนินงานเริ่มจากกลุ่มเล็ก ๆ ที่มีความเห็นร่วมกันผ่านการเรียนรู้ความสำเร็จความล้มเหลวจนกระทั่งเกิดความเชื่อมั่นแล้วจึงขยายผลด้วยความรอบคอบ การประยุกต์ใช้ความรู้ เทคโนโลยีที่เหมาะสม ปัจจุบัน เศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ สภาพแวดล้อมของชุมชนหัวอ่าวดีขึ้นชัดเจน โดยเฉพาะครัวเรือนที่ทำเกษตรอินทรีย์ หรือ ครัวเรือนที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมิติที่มีการพัฒนาดีขึ้นชัดเจน คือ อ่านเพิ่มเติม...

ข้อคิดเห็นจากเครือข่าย TKP

 
Copyright © 2018 ศูนย์ข้อมูลความรู้ประชาชนจังหวัดนครสวรรค์. Designed by OddThemes > Developed by mediathailand